วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2559

การเกิดพายุก่อความเสียหายมากหรือไม่?

การเกิดพายุก่อความเสียหายมากหรือไม่?  พายุ คือ สภาพบรรยากาศที่ถูกรบกวนแบบใด ๆ ก็ตาม โดยเฉพาะที่มีผลกระทบต่อพื้นผิวโลก และบ่งบอกถึงสภาพอากาศที่รุนแรง เวลากล่าวถึงความรุนแรงของพายุ จะมีเนื้อหาสำคัญอยู่บางประการคือ ความเร็วที่ศูนย์กลาง ซึ่งอาจสูงถึง 400 กม./ชม. ความเร็วของการเคลื่อนตัว ทิศทางการเคลื่อนตัวของพายุ และขนาดความกว้างหรือเส้นผ่าศูนย์กลางของตัวพายุ ซึ่งบอกถึงอาณาบริเวณที่จะได้รับความเสียหายว่าครอบคลุมเท่าใด ความรุนแรงของพายุจะมีหน่วยวัดความรุนแรงคล้ายหน่วยริกเตอร์ของการวัดความรุนแรงแผ่นดินไหว มักจะมีความเร็วเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เหตุการณ์เล่านี้จึงเป็นเรื่องที่ผู้เขียนสนใจที่จะศึกษาถึง “การเกิดพายุก่อความเสียหายมากหรือไม่?” เพื่อเป็นแนวทางการป้องกัน และ ลดการเกิด ภัยพิบัติดังกล่าวไม่ให้ เกิดขึ้นกับประเทศ การเกิดพายุหมุน พายุ (Storms) เกิดขึ้นเมื่อเกิดศูนย์กลางของแรงดันในอากาศต่ำลงมากกว่าในบริเวณรอบๆ พื้นที่หนึ่ง พร้อมกับมีแรงดันอากาศสูงเกิดขึ้นรอบ ๆ พื้นที่นั้น การรวมของแรงปะทะต่าง ๆ ก่อให้เกิดลม อันส่งผลให้เกิด การเคลื่อนตัวเปลี่ยนรูปของพายุเมฆ เช่น สภาพที่เรียกว่า cumulonimbus ซึ่งเป็นในรูปแบบก้อนเมฆดำทะมึนหนาทึบอันเต็มไปด้วยประจุไฟฟ้าที่ก่อให้เกิดฝนฟ้าคะนอง ซึ่งแรงดันอากาศต่ำอาจเกิดจากจุดเล็ก ๆ ที่พื้นที่ใด ๆ อันเกิดจากอากาศร้อนลอยล่องขึ้นจากพื้นดิน ส่งผลให้เกิดการปั่นป่วนน้อย ๆ เช่น การเกิดพายุฝุ่น (dust devils) หรือลมหมุน (whirlwinds) พายุหมุนเกิดจากศูนย์กลางความกดอากาศต่ำ ทำให้บริเวณโดยรอบศูนย์กลางความกดอากาศต่ำ ซึ่งก็คือ ความกดอากาศสูงโดยรอบจะพัดเข้าหาศูนย์กลางความกดอากาศต่ำ ขณะเดียวกันศูนย์กลางความกดอากาศต่ำจะลอยตัวสูงขึ้น และเย็นลงด้วยอัตราอะเดียเบติก (อุณหภูมิลดลงเมื่อความสูงเพิ่มขึ้น) ทำให้เกิดเมฆและหยาดน้ำฟ้า พายุหมุนจะมีความรุนแรงหรือไม่ขึ้นอยู่กับอัตราการลดลงของความกดอากาศ ถ้าอัตราการลดลงของความกดอากาศมีมากจะเกิดพายุรุนแรง เราสามารถแบ่งพายุหมุนออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
พายุหมุนนอกเขตร้อน ได้แก่ พายุหมุนที่เกิดขึ้นในเขตละติจูดกลางและเขตละติจูดสูง ซึ่งในเขตละติจูดดังกล่าวจะ มีแนวมวลอากาศเย็นจากขั้วโลกหรือมหาสมุทรอาร์กติก เคลื่อนตัวมาพบกับมวลอากาศอุ่นจากเขตกึ่งโซนร้อน มวลอากาศดังกล่าวมีคุณสมบัติต่างกัน แนวอากาศจะเกิดการเปลี่ยนโดยเริ่มมีลักษณะโค้งเป็นรูปคลื่น อากาศอุ่นจะลอยตัวสูงขึ้นเหนืออากาศเย็น ซึ่งเช่นเดียวกับแนวอากาศเย็นซึ่งจะเคลื่อนที่เข้าแทนที่แนวอากาศอุ่น ทำให้มวลอากาศอุ่นลอยตัวสูงขึ้น และจากคุณสมบัติการเคลื่อนที่ของมวลอากาศเย็นที่เคลื่อนตัวได้เร็วกว่า แนวอากาศ อย่างไรก็ตามเวลาที่เกิดพายุหมุนนั้นจะเกิดลักษณะของศูนย์กลางความกดอากาศขึ้น ซึ่งก็คือ ศูนย์กลางความกดอากาศต่ำ ลมจะพัดเข้าหาศูนย์กลาง (ความกดอากาศสูงเคลื่อนที่เข้าหาศูนย์กลางความกดอากาศต่ำ) ซึ่งลมพัดเข้าหาศูนย์กลางดังกล่าวในซีกโลกเหนือ มีทิศทางการพัดวนทวนเข็มนาฬิกา ส่วนในซีกโลกใต้มีทิศทางตามเข็มนาฬิกา ซึ่งเป็นผลมาจากการหมุนของโลกนั่นเอง       
 พายุทอร์นาโด (Tornado) เป็นพายุขนาดเล็กแต่มีความรุนแรงมากที่สุด มักเกิดในประเทศสหรัฐอเมริกา และนอกนั้นเกิดที่แถบประเทศออสเตรเลีย พายุดังกล่าวเกิดจากอากาศเคลื่อนที่เข้าหาศูน์กลางความกดอากาศต่ำอย่างรวดเร็ว ลักษณะพายุคล้ายปล่องไฟสีดำห้อยลงมาจากเมฆคิวมูโลนิมบัส (Cumulonimbus) ในมวลพายุมีไอน้ำและฝุ่นละออง ตลอดจนวัตถุต่าง ๆ ที่ถูกลมพัดลอยขึ้นไปด้วยความเร็วลมกว่า 400 กิโลเมตร / ชั่วโมง เมื่อพายุเคลื่อนที่ไปในทิศทางใดฐานของมันจะกวาดทุกอย่างบนพื้นดินขึ้นไปด้วย ก่อให้เกิดความเสียหายมาก พายุทอร์นาโดจะเกิดในช่วงฤดูใบไม้ผลิ และฤดูร้อน เนื่องจากมวลอากาศขั้วโลกภาคพื้นสมุทรมาเคลื่อนที่พบกับมวลอากาศเขตร้อนภาคพื้นสมุทร และถ้าเกิดขึ้นเหนือพื้นน้ำเราเรียกว่า "นาคเล่นน้ำ" (Waterspout)

พายุหมุนเขตร้อน เป็นพายุหมุนที่เกิดขึ้นในเขตร้อนบริเวณเส้นศูนย์สูตรระหว่าง 8 - 12 องศา เหนือและใต้ โดยมากมักเกิดบริเวณพื้นทะเลและมหาสมุทรที่มีอุณหภูมิของน้ำสูงกว่า 27 องศาเซลเซียส พายุหมุนเขตร้อนเป็นลักษณะของบริเวณความกดอากาศต่ำ ศูนย์กลางพายุเป็นบริเวณที่มีความกดอากาศต่ำมากที่สุด เรียกว่า "ตาพายุ" (Eye of Storm) มีลักษณะกลม และกลมรี มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 50 - 200 กิโลเมตร บริเวณตาพายุจะเงียบสงบ ไม่มีลม ท้องฟ้าโปร่ง ไม่มีฝนตก ส่วนรอบๆ ตาพายุจะเป็นบริเวณที่มีลมพัดแรงจัด มีเมฆครึ้ม มีฝนตกพายุรุนแรง พายุหมุนเขตร้อนจัดเป็นพายุที่มีความรุนแรงมาก เกิดจากศูนย์กลางความกดอากาศต่ำ ที่มีลมพัดเข้าหาศูนย์กลาง ในซีกโลกเหนือทิศทางการหมุนของลมมีทิศทางทวนเข็มนาฬิกา ส่วนซีกโลกใต้มีทิศทางตามเข็มนาฬิกา ความเร็วลมเข้าสู่ศูนย์กลางอยู่ระหว่าง 120 - 200 กิโลเมตร/ชั่วโมง พายุในเขตนี้จะมีฝนตกหนัก องค์การอุตุนิยมวิทยาโลกแบ่งประเภทพายุหมุนตามความเร็วใกล้ศูนย์กลางพายุ โดยแบ่งตามระดับความรุนแรง       ได้ดังนี้ 
พายุดีเปรสชั่น (Depression) ความเร็วลมน้อยกว่า 63 กิโลเมตร / ชั่วโมง เป็นพายุอ่อนๆมี ฝนตกบาง     ถึงหนัก
        พายุโซนร้อน (Tropical Storm) ความเร็วลม 64 - 115 กิโลเมตร / ชั่วโมง มีกำลังปานกลาง                    มีฝนตกหนัก
        พายุหมุนเขตร้อน หรือพายุไซโคลนเขตร้อน (Tropical Cyclone) ความเร็วลม  มากกว่า 115 กิโลเมตร / ชั่วโมง เป็นพายุที่มีกำลังแรงสูงสุดมีฝนตกหนักมาก บางครั้งจะมีพายุฝนฟ้าคะนองด้วย

  พายุหมุนเขตร้อนมีชื่อเรียกต่าง ๆ กันตามแหล่งกำเนิด ดังนี้
 ถ้าเกิดในมหาสมุทรแปซิฟิก และทะเลจีนใต้ เรียกว่า ใต้ฝุ่น (Typhoon)
      ถ้าเกิดในอ่าวเบงกอล และทะเลอาหรับ เรียกว่า พายุไซโคลน (Cyclone)
     ถ้าเกิดในแอตแลนติก และทะเลแคริบเบียน เรียกว่า พายุเฮอร์ริเคน (Hurricane)        
 ๐    ถ้าเกิดในทะเลประเทศฟิลิปปินส์ เรียกว่า พายุบาเกียว(Baguio)
 ๐    ถ้าเกิดที่ทะเลออสเตรเลีย เรียกว่า พายุวิลลี วิลลี่ (Willi-Willi)
รายชื่อพายุหมุนเขตร้อนบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ (ด้านตะวันตก) และทะเลจีนใต้[1]
ประเทศที่ส่งชื่อ
ชุดที่ 1
ชุดที่ 2
ชุดที่ 3
ชุดที่ 4
ชุดที่ 5
ด็อมเร็ย
กองเร็ย
นากรี
กรอวาญ (กระวาน)
ซาเระกา (สาลิกา)
ไห่ขุย[# 1]
ยวี่ถู่
เฟิงเฉิน
ตู้เจวียน
ไหหม่า
คีโรกี
โทราจี
คัลแมกี
มูจีแก[# 2]
เมอารี
ฮ่องกง (จีน)
ไคตั๊ก
หม่านหยี่
ฟงวอง
ฉอยหวั่น
หมาอ๊อน
เท็มบิง
อูซางิ
คัมมูริ
คปปุ
โทกาเงะ
บอละเวน
ปาบึก (ปลาบึก)
ฟานทอง
จำปี[# 3]
นกเต็น (นกกระเต็น)
มาเก๊า (จีน)
ซันปา[# 4]
หวู่ติบ
หว่องฟ้ง
ยีนฟ้า[# 5]
หมุ่ยฟ้า
เจอลาวัต
เซอปัต
นูรี[# 6]
เมอโลร์
เมอร์บก
เอวิเนียร์
มุน[# 7]
ซินลากู
เนพาร์ตัก
นันมาดอล
มาลิกซี[# 8]
ดานัส
ฮากูปิต
ลูปิต
ตาลัส
แคมี
นารี
ชังมี
มีรีแน[# 9]
โนรู
พระพิรุณ
วิภา
เมขลา
นิดา
กุหลาบ
มาเรีย
ฟรานซิสโก
ฮีโกส
โอไมส์
โรคี
เซินติญ[# 10]
เลกีมา
บาหวี่
โกนเซิน
เซินกา
อ็อมปึล (อำปึล)[# 11]
กรอซา
ไมสัก
จันทู
เนสาท
อู๋คง
ไป๋ลู่[# 12]
ไห่เฉิน
เตี้ยนหมู่
ไห่ถาง
ชงดารี[# 13]
โพดุล
โนอึล[# 14]
มินดุลเล
นัลแก
ฮ่องกง (จีน)
ชานชาน
เหล่งเหลง
ดอลฟิน[# 15]
ไลออนร็อก[# 16]
บันยัน
ยางิ
คาจิกิ
คูจิระ
คมปาซุ
ฮาโตะ[# 17]
หลี่ผี[# 18]
ฟ้าใส
จันหอม (จันทน์หอม)
น้ำเทิน
ปาข่า (ปลาข่า)[# 19]
มาเก๊า (จีน)
เบบินคา
เผ่ย์ผ่า[# 20]
หลิ่นฟ้า
หมาเหล่า
ซ้านหวู่
รุมเบีย
ตาปะฮ์
นังกา
เมอรันตี
มาวาร์
ซูลิก
มิแทก
เซาเดโลร์
ราอี[# 21]
กูโชล
ซีมารอน
ฮากีบิส
โมลาเบ[# 22]
มาลากัส
ตาลิม
เชบี
นอกูรี
โคนี
เมกี
ทกซูรี[# 23]
มังคุด[# 24]
อัสนี[# 26]
ชบา
ขนุน
บารีจัต[# 27]
แมตโม[# 28]
เอตาว
แอรี[# 29]
ลัง[# 30]
จ่ามี
หะลอง
หว่ามก๋อ
ซงด่า
เซาลา

ชื่อพายุตั้งใหม่ เริ่มใช้ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ 2556
  (ชื่อภาษาไทยปรับปรุงใหม่)
ตามหนังสือราชบัณฑิตยสถานที่ รถ 0002/129

ลงวันที่ 20 มกราคม 2557
การตั้งชื่อใช้หมุนเวียนกันไปตามลาดับตัวอักษรและลาดับ Column เมื่อถึงชื่อสุดท้าย คือ SAOLA
จะเริ่มต้นที่ Column 1 ใหม่คือ DAMREY


ตารางนี้แสดงรายการพายุทั้งหมดที่เกิดขึ้นทางตะวันตก

ชื่อพายุ
ช่วงวันที่
ลมเร็วสูงสุด

ความกดอากาศ
พื้นที่ผลกระทบ
ความเสียหาย
ผู้เสียชีวิต
ดีเปรสชันเขตร้อน
2 – 4 มกราคม
ดีเปรสชันเขตร้อน
ไม่ได้ระบุ
1006 hPa (29.71 นิ้วปรอท)
มาเลเซีย มาเลเซีย
บรูไน บรูไน
ไม่มี
ไม่มี
เมขลา (อามัง)
13 – 21 มกราคม
พายุไต้ฝุ่น
130 km/h (80 ไมล์/ชม.)
965 hPa (28.50 นิ้วปรอท)
หมู่เกาะคาโรไลน์
ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์
684 พันดอลลาร์สหรัฐ
2

อากาศเมื่อได้รับความร้อนจะขยายตัว และหากบริเวณนั้นมีความกดอากาศต่ำอากาศจะลอยตัวสูงขึ้น บริเวณที่อากาศเย็นกว่ามีความกดอากาศสูงกว่าจะเคลื่อนเข้ามาแทนที่อากาศร้อน ทำให้เกิด ลม ถ้าบริเวณทั้งสองแห่งมีความกดอากาศต่างกันมาก ลมจะพัดแรงจนบางครั้งเรียกว่า พายุ ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายแก่สิ่งต่างๆ ในบริเวณที่พายุพัดผ่าน

พายุหมุนเขตร้อน เกิดเหนือมหาสมุทรในเขตร้อนที่มีอุณหภูมิของน้ำสูงกว่า 26.5 องศาเซลล์เซียส ความกดอากาศโดยทั่วไปต่ำกว่า 1,000 มิลลิบาร์ เกิดพร้อมกับลมที่พัดรุนแรงมาก โดยพัดเวียนเป็นวงทวนเข็มนาฬิกาในซีกโลกเหนือ ส่วนทางซีกโลกใต้พัดเวียนเป็นวงตามเข็มนาฬิกาเข้าสู่ศูนย์กลางพายุ ตามข้อตกลงระหว่างประเทศได้กำหนดการเรียกชื่อพายุหมุนตามความรุนแรงดังนี้


พายุดีเปรสชัน   ไม่เกิน 63 km/hr
คือพายุหมุนเขตร้อนประเภทหนึ่งที่มีความเร็วที่จุดศูนย์กลางไม่สูงมากนัก ความเร็วลมไม่เกิน 61 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีอำนาจการทำลายล้างไม่สูงมากนัก โดยมีความเร็วน้อยกว่าพายุโซนร้อน ซึ่งมีความเร็วลมตั้งแต่ 62 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่ไม่เกิน 117 กิโลเมตรต่อชั่วโมงและพายุไต้ฝุ่นที่มีความเร็วตั้งแต่ 
118 กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไปพายุดีเปรสชันนั้นเป็นพายุหรือพายุฝนที่มีโอกาสเกิดขึ้นมากที่สุด เป็นพายุที่มีกำลังอ่อนที่สุดในบรรดาพายุที่มีชื่อเรียกทั้งหลาย ความเร็วของลมใกล้บริเวณศูนย์กลางของดีเปรสชันไม่เกิน 33 น็อต หรือ 61 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ไม่สร้างอันตรายรุนแรงมากนัก แต่สามารถทำให้ต้นไม้ใหญ่ล้ม เสาไฟฟ้าหักโค่นและบ้านเรือนที่อยู่อาศัยเสียหายได้ โดยทั่วไปจะทำให้มีฝนตกเป็นบริเวณกว้างและสามารถตกหนัก ลมกรรโชกแรงและทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันได้                                                             โดยทั่วไปแล้วพายุดีเปรสชั่นสามารถทำให้เกิดฝนตกหนักในระดับ 100 มิลลิเมตร ภายใน 12 ชั่วโมง และสามารถตกติดต่อกันได้หลายวัน ดังนั้นเมื่อพายุพัดผ่านไปแล้วเรามักจะพบน้ำท่วม ดินถล่ม ดินภูเขาเกิดการสไลด์ตัว ถนนขาด เป็นต้น                                                                                                                          พายุดีเปรสชันนั้นถ้าเกิดขึ้นใกล้ชายฝั่ง เมื่อขึ้นฝั่งแล้วก็มักจะสลายตัวได้ภายใน 1 สัปดาห์ แต่ถ้าเกิดในทะเลลึกหรือห่างชายฝั่งมาก ผสมกับแรงกดอากาศที่แตกต่างกันหรือมีพายุขนาดเล็กอื่นๆอยู่ใกล้ จะสามารถก่อตัวให้ใหญ่ขึ้นและแรงขึ้นจนกลายเป็นพายุโซนร้อนและพายุไต้ฝุ่นซึ่งมีความเร็วสูงกว่าและอำนาจทำลายล้างสูงมากกว่าได้ในที่สุด
พายุโซน
เป็นพายุที่มีขนาดความแรงแงลมปานกลาง กล่าวคือมีความเร็วอยู่ระหว่าง 34-63 นอต หรือ 63-117 กิโลเมตร/ชั่วโมง พายุโซนร้อนเป็นพายุที่มีความแรงน้อยกว่าพายุไต้ฝุ่น (118 กิโลเมตร/ชั่วโมงขึ้นไป) แต่สูงกว่าพายุดีเปรสชัน (ต่ำกว่า 63 กิโลเมตร/ชั่วโมง) โดยที่พายุโซนร้อนไม่ถือว่าเป็นพายุหมุน
พายุโซนร้อนเป็นพายุที่เกิดขึ้นได้บ่อยและเกิดขึ้นได้ทั่วโลก โดยสามารถเกิดขึ้นจากการทวีความแรงขึ้นของพายุดีเปรสชันหรือการอ่อนตัวของพายุไต้ฝุ่น อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยพายุประเภทนี้ถ้าเกิดขึ้นใกล้ชายฝั่งก็มักจะอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันก่อนจะสลายตัวไปในที่สุด แต่ถ้าเกิดในทะเลลึกที่ห่างไกลชายฝั่งก็มักจะทวีความรุนแรงขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่นในที่สุด
พายุโซนร้อนสามารถทำให้เกิดฝนตกหนักและเกิดในวงกว้าง สามารถส่งผลให้เกิดน้ำท่วมอย่างรุนแรง ต้นไม้ใหญ่หักโค่น ถนนหนทางเสียหายและแผ่นดินสไลด์ตัวได้

หมายเหตุ เมื่อพายุโซนร้อนทวีความรุนแรงหรือความเร็วของลมที่ศูนย์กลางมากกว่า 117 กิโลเมตร/ชั่วโมง ก็จะกลายสภาพเป็นพายุหมุนที่มีความรุนแรงสูงสุดที่เรารู้จักกันในชื่อพายุไต้ฝุ่น พายุไซโคลน หรือพายุเฮอร์ริเคน แล้วแต่สถานที่เกิด กล่าวคือถ้าเกิดขึ้นในมหาสมุทรแปซิฟิคทางเหนือหรือในทะเลจีนไต้ จะเรียกว่าพายุไต้ฝุ่น ถ้าเกิดขึ้นในมหาสมุทรอินเดียจะเรียกว่าพายุไซโคลน และถ้าเกิดในอ่าวเม็กซิโกหรือแถบอเมริกาเหนือจะเรียกว่าพายุเฮอร์ริเคน


พายุไต้ฝุ่นมากกว่า 118  km/hr
เป็นพายุหมุนเขตร้อนความเร็วลมสูงสุด ซึ่งก่อตัวขึ้นทางตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิกระหว่าง 180° กับ 100° ตะวันออก ซึ่งภูมิภาคนี้ถูกตั้งชื่อว่า "แอ่งแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ"[1] สำหรับจุดประสงค์เกี่ยวกับองค์กร มหาสมุทรแปซฟิกตอนเหนือถูกแบ่งออกเป็นสามส่วน ได้แก่ ทางตะวันออก (ทวีปอเมริกาเหนือจนถึงลองติจูด 140° ตะวันตก) ตอนกลาง (140° ตะวันตกถึง 180°) และทางตะวันตก (180° ถึง 100° ตะวันออก) ปรากฏการณ์พายุแบบเดียวกันที่เกิดขึ้นในมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือทางตะวันออกจะถูกเรียกว่า เฮอร์ริเคน และพายุหมุนเขตร้อนที่เคลื่อนที่ไปยังมหาสมุทรแปซิฟิกทางตะวันตกจะถูกเรียกว่า ไต้ฝุ่น ศูนย์กลางอุตุนิยมวิทยากำหนดขอบเขตส่วนภูมิภาค (RSMC) ซึ่งมีหน้าที่พยากรณ์การเกิดพายุหมุนเขตร้อนตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น และศูนย์เตือนภัยพายุหมุนเขตร้อนอื่น ๆ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิกตั้งอยู่ในโฮโนลูลู (ศูนย์ร่วมการเตือนภัยไต้ฝุ่น) ฟิลิปปินส์และฮ่องกง ขณะที่ RSMC ตั้งชื่อในแต่ละระบบ ตัวรายชื่อหลักนั้นเป็นความร่วมมือกันระหว่าง 18 ประเทศ รวมทั้งสหรัฐอเมริกา ซึ่งประเทศเหล่านี้ได้รับผลกระทบจากพายุไต้ฝุ่นทุกปี

พายุหมุนเขตร้อนมีชื่อเรียกต่างกันไปตามแหล่งกำเนิด เช่น 

พายุที่เกิดในอ่าวเบงกอลและมหาสมุทรอินเดียเรียกว่า ไซโคลน (Cyclone)”
พายุที่เกิดในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ทะเลแคริบเบียน อ่าวเม็กซิโก และทางด้านตะวันตกของเม็กซิโก เรียกว่า เฮอร์ริเคน (Hurricane)”
พายุที่เกิดในมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือด้านตะวันตก มหาสมุทรแปซิฟิกใต้ และทะเลจีนใต้เรียกว่า ไต้ฝุ่น (Typhoon)”
พายุที่เกิดแถบทวีปออสเตรเลียเรียกว่า วิลลี-วิลลี (Willy-Willy)”



พายุฟ้าคะนอง เป็นลมพายุที่พัดแรงฝนตกหนักและมีฟ้าแลบ ฟ้าร้อง ฟ้าผ่าเกิดขึ้นและบางครั้งอาจมีลูกเห็บเกิดขึ้นด้วย เราจะพบปรากฏการพายุฟ้าคะนองได้ทั่วไปในเขตภูมิอากาศร้อนชื้น
บทสรุปและข้อเสนอแนะ
                พายุหมุนเกิดจากศูนย์กลางความกดอากาศต่ำ ทำให้บริเวณโดยรอบศูนย์กลางความกดอากาศต่ำ ซึ่งก็คือ ความกดอากาศสูงโดยรอบจะพัดเข้าหาศูนย์กลางความกดอากาศต่ำ ขณะเดียวกันศูนย์กลางความกดอากาศต่ำจะลอยตัวสูงขึ้น และเย็นลงด้วยอัตราอะเดียเบติก (อุณหภูมิลดลงเมื่อความสูงเพิ่มขึ้น) ทำให้เกิดเมฆและหยาดน้ำฟ้า พายุหมุนจะมีความรุนแรงหรือไม่ขึ้นอยู่กับอัตราการลดลงของความกดอากาศ ถ้าอัตราการลดลงของความกดอากาศมีมากจะเกิดพายุรุนแรง พายุมีหลายรูปแบบ ดังนี้ 1.พายุหมุนนอกเขตร้อน 2.พายุทอร์นาโด  3.พายุหมุนเขตร้อน 4.พายุดีเปรสชั่น 5.  พายุโซนร้อน   6.พายุเขตร้อน 7.พายุหมุนเขตร้อน หรือพายุไซโคลนเขตร้อน  ซึ่งจากการค้นคว้า เราไม่สามารถหยุดมันได้ ก่อให้เกิดความเสียหายมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับขนาดของพายุนั้นๆ                     
บรรณานุกรม

การเกิดพายุ. (2543).”การศึกษาการเกิดพายุ”สืบค้นเมื่อ 2558.ธันวาคม15,เข้าถึงได้จาก:

1 ความคิดเห็น:

  1. Lucky Club | Casino Site - Lucky Club
    Lucky Club is the perfect place to be for fun and games, with a luckyclub wide range of game options, games and great promotions. Play responsibly. Rating: 3.5 · ‎4 votes · ‎Price range:.

    ตอบลบ